การใช้งาน
ส่วนประกอบของพีแอลซี
พีแอลซีแบ่งออกได้ 3 ส่วนด้วยกันคือ
1.ส่วนที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง
2.ส่วนที่เป็นอินพุต/เอาต์พุต
3.ส่วนที่เป็นอุปกรณ์การโปรแกรม
CPU เป็นส่วนมันสมองของระบบ ภายใน CPU จะประกอบไปด้วยวงจร Logic Gate ชนิดต่างๆ หลายชนิด และมี Microprocessor-based ใช้สำหรับแทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ เคาน์เตอร์ ไทเมอร์ และซีเควนเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ออกแบบใช้วงจรรีเลย์แลดเดอร์ ลอจิก เข้าไปได้
CPU จะยอมรับ อินพุต เดต้า จากอุปกรณ์ให้สัญญาณ ต่างๆ จากนั้นจะปฏิบัติการและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ และส่งข้อมูลที่เหมาะสมถูกต้องไปยังอุปกรณ์ควบคุม แหล่งของกระแสไฟฟ้าตรง สำรับใช้สร้างโวลต์ต่ำ ซึ่งใช้โดยโปรเซสเซอร์ และไอโอ โมดูล และแหล่งจ่ายไฟนี้จะเก็บไว้ที่ CPU หรือแยกออกไปติดตั้งที่จุดอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย
การประมวลผลของ CPU จากโปรแกรมทำได้โดยรับข้อมูลจากหน่วยอินพุทและเอาท์พุท และส่งข้อมูลสุดท้ายที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยเอาท์พุท เรียกว่า การสแกน ซึ่งใช้เวลาจำนวนหนึ่ง เรียกว่า เวลาสแกน เวลาในการสแกนแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 100 msec. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลและความยาวของโปรแกรม หรือจำนวนอินพุท/เอาท์พุทหรือจำนวนอุปกรณ์ที่ต่อจาก PLC เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้เวลาในการสแกนยาวนานขึ้น การเริ่มต้นการสแกนเริ่มจากรับคำสั่งของสภาวะของอุปกรณ์จากหน่วยอินพุทมาเก็บไว้ในหน่วยความจำ (Memory) เสร็จแล้วจะทำการปฏิบัติการตามโปรแกรมที่เขียนไว้ทีละคำสั่งจากหน่วยความจำนั้นจนสิ้นสุด แล้วส่งไปที่หน่วยเอาท์พุท ซึ่งการสแกนของพีแอลซี ประกอบด้วย
- I/O Scan คือ การบันทึกสภาวะข้อมูลของอุปกรณ์ที่เป็นอินพุท และให้อุปกรณ์เอาท์พุททำงาน
- Program Scan คือ การให้โปรแกรมทำงานตามลำดับก่อนหลัง
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.tic.co.th/index.php?op=product-index&cid=10&tid=73